เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์

เงินกองทุน” หรือ “ทุน” ของธนาคารพาณิชย์ คือ ส่วนที่แสดงถึงความแข็งแกร่งในฐานะโดยรวมของธนาคารแห่งนั้น ตราบใดที่ยังมี “เงินกองทุน” เหลืออยู่ ก็เชื่อมั่นได้ว่าหากเลิกกิจการธนาคารไป สินทรัพย์ทั้งหมดนำออกไปขายหรือเรียกชำระคืนเป็นเงินจะสามารถนำไปจ่ายคืนให้กับเจ้าหนี้ (ผู้ฝากเงินและอื่นๆ) ได้อย่างเพียงพอ ไม่ต้องเป็นภาระให้แก่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก และผู้ฝากเงินในที่สุด

ประเทศไทยมีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
  2. สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ

ธนาคารพาณิชย์ในประเทศ” ในที่นี้ไม่รวมถึงธนาคารเฉพาะกิจที่เป็นของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลาม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การดูแลธนาคารในประเทศ ของทางการ (โดยธนาคารแห่งประเทศไทย) จะให้ความสำคัญกับ “เงินกองทุน” เป็น

อย่างมาก โดยกำหนดอัตราส่วนขั้นต่ำให้ต้องดำรงไว้ ระหว่างเงินกองทุน กับสินทรัพย์ในจำนวนหนึ่ง และจะถือเป็นเรื่องร้ายแรงอย่างยิ่งหากอัตราส่วนดังกล่าว ลดต่ำลงกว่าที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงความมั่นคงแข็งแรงของธนาคารพาณิชย์อยู่ตลอดเวลา อันเชื่อถือได้ว่าธนาคารพาณิชย์แห่งนั้น จะไม่ล้มเลิกกิจการไปโดยง่าย

สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ” เป็นธนาคารที่มีสำนักงานใหญ่อยู่นอกประเทศไทย ซึ่งทางการของประเทศนั้นจะคอยดูแล “เงินกองทุน” ถือเป็นส่วนของเจ้าของที่มีอยู่ในประเทศนั้นๆ ในหลักการเดียวกับที่ประเทศไทยดูแล “เงินกองทุน” ของธนาคารในประเทศดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ดี เมื่อธนาคารต่างประเทศมาเปิดสาขาในประเทศไทย เงินที่นำเข้ามา จะถูกกำหนดให้ต้องจดทะเบียนไว้กับทางการ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า จะไม่มีการส่งเงินนั้นคืนกลับไปต่างประเทศในภายหลัง หากไม่มีการควบคุมเช่นนี้ ธุรกรรมทางการเงินของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่น อาจจะใช้เป็นช่องทางในการถ่ายเทเงินออกไปต่างประเทศโดยง่าย และผลที่สุดหากสาขาในประเทศไทยประสบปัญหา เจ้าของกิจการซึ่งอยู่ในต่างประเทศก็อาจจะไม่ยอมรับความเสียหาย เนื่องจากได้รับเงินคืนกลับไปหมดแล้ว คนที่เสียหายคือผู้ฝากเงินในประเทศไทย ซึ่งสถาบันคุ้มครองเงินฝากต้องเข้ามารับภาระจ่ายเงินแทนให้

9k=

ดังนั้น วิธีการดูแล “เงินกองทุน” ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ทางการจึงให้ทำการจดทะเบียนไว้ตั้งแต่ต้นว่า ต้องการดำรงไว้เป็น “เงินกองทุน” จำนวนเท่าใด และเงินที่นำเข้าดังกล่าวให้นำไปซื้อหลักทรัพย์ในประเทศไทยที่มีความมั่นคงปลอดภัยค่อนข้างมาก อาทิ พันธบัตรรัฐบาล แล้วจดทะเบียนว่ามีภาระผูกพัน ป้องกันการไถ่ถอนคืน รายการดังกล่าว

จะแสดงไว้ในงบแสดงฐานะการเงินด้านสินทรัพย์ และในขณะเดียวกัน จำนวนเงินที่กล่าวต้องผูกโยงกับเงินทุนสุทธิเพื่อดำรงสินทรัพย์ตามกฎหมายที่แสดงในด้านเจ้าหนี้ ในงบแสดงฐานะการเงิน โดยมีจำนวนเงินไม่น้อยไปกว่า สินทรัพย์ดังกล่าวอีกด้วย

ความซับซ้อนของการดูแล “เงินกองทุน” ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีมากกว่าธนาคารพาณิชย์ในประเทศ เพื่อป้องกันการที่แม่ (สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ) ปล่อยให้ลูก (สาขาในประเทศไทย) ล้มเลิกกิจการไปโดยแม่ไม่ต้องรับภาระใดๆ

ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ทั้งธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ต้องดำรงเงินกองทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 ของสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้น


ปรับปรุงล่าสุด 27 ก.พ. 2567

สงวนสิทธิ์โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

บทความอื่นๆ

ดูเพิ่มเติม