การคุ้มครอง e-money ในต่างประเทศ

วิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เปลี่ยนแปลงโลกอย่างมีนัยสำคัญ จนถือกำเนิดความปกติใหม่ หรือ "New Normal" นำไปสู่ชีวิตวิถีใหม่ที่มีอิทธพิลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากการระบาดของ COVID-19 และเป็น New Normal ที่มีความโดดเด่น คือ การปรับพฤตกิรรมการใช้จ่ายของประชาชน แม้การมาถึงของเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) จะเป็นแรงกระตุ้นให้ประชาชนเริ่มหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เงินอิเล็กทรอนิกส์(electronic money: e-money) แทนเงินสด อย่างไรก็ดีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ถือเป็นปัจจัยสร้างแรงผลักดันให้สังคมไทยเปิดรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส (e-payment) และการใช้ e-money เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อผ่านการสัมผัสธนบัตร หรือเหรียญที่มีเชื้อไวรัสแฝงอยู่ เมื่อประชาชนเริ่มใช้ e-money สำหรับการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้มีการเติมเงินในบัตรหรือ ผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตเป็นมูลค่าเพิ่ขึ้น ผลิตภัณฑ์ e-money จึงอาจถือได้ว่ามีคุณสมบัติการเก็บรักษามูลค่าของเงิน ซึ่งใกล้เคียงกับคุณสมบัติหลักของเงินฝาก ด้วยเหตุนี้การคุ้มครอง e-money จึงเป็นแนวทางพัฒนาระบบคุ้มครองเงนิฝากที่ DPA ให้ความสำคัญ และอยู่ระหว่างศึกษากรอบการคุ้มครอง e-money ตามหลักการสากล

ปัจจุบัน กรอบการคุ้มครอง ดังกล่าวสามารถจำแนกได้เป็น 2 ระดับได้แก่

  1. การคุ้มครองระดับแรก (First Line of Defense) ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจให้บริการหรือจำหน่าย e-money โดยมีมาตรการสำคัญ ได้แก่
    1. มาตรการเชิงป้องกันและการกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจ e-money (prudential and business conduct requirements) โดยการจัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารจัดการความเสี่ยง และเกณฑ์การออกใบอนุญาต
    2. หลักเกณฑ์ประกันความเสี่ยง (Ring-fencing) กำหนดให้ผู้ให้บริการ e-money เก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าจากธุรกรรม e-money แยกออกจากทรัพย์สินทั้งหมด และสร้างกลไกปกป้องเงินดังกล่าว ในกรณีที่บริษัทที่ประกอบธุรกิจ e-money อยู่ในภาวะล้มละลาย ซึ่งกลไกที่นิยมใช้ ได้แก่ นำเงินรับล่วงหน้าไปฝากในบัญชีเงินฝากประเภทบัญชีผู้รับจ้างเก็บรักษาทรัพย์สิน (custodian account) หรือบัญชีประเภท trust account ของสถาบันการเงิน และระบุให้ลูกค้า e-money เป็นผู้รับผลประโยชน์ (beneficiary) จากเงินฝากในบัญชีดังกล่าว โดยเจ้าหนี้ของผู้ให้บริการ e-money จะยึดเงินรับล่วงหน้าของลูกค้าไปเพื่อการชำระหนี้ไม่ได้ ทั้งนี้กลไกนี้มักดำเนินการควบคู่กับการให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ e-money โดยหน่วยงานคุ้มครองเงินฝาก
    3. มาตรการเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าจากธรุกรรม e-money ในรูปแบบสินทรัพย์ ที่มีสภาพคล่อง หรือหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง (Permissible investments) กำหนดให้ผู้ให้บริการ e-money สามารถนำเงินรับล่วงหน้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง หรือหลักทรพัย์ที่มีความมั่นคงสูง มาตรการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)
  2. การคุ้มครองระดับสุดท้าย (Last Line of Defense)เป็นการกำหนดให้หน่วยงานคุ้มครองเงินฝากอาจทำหน้าที่คุ้มครองลูกค้า e-money เมื่อเกิดปัญหากับผู้ให้บริการ e-money หรือเกิดปัญหากับสถาบันการเงินที่ผู้ให้บริการ e-money เปิดบัญชีเงินฝากสำหรับเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าไว้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงคงเหลือ (residual risk) จากมาตรการ First Line of Defense ข้างต้น

แนวทางการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ e-money สำหรับหน่วยงานคุ้มครองเงินฝากของแต่ละประเทศมีความหลากหลายตามบริบททางเศรษฐกิจ การเงิน และกฎหมาย ซึ่งสามารถจัดประเภทเป็นสองแนวทางหลัก ได้แก่ การคุ้มครองผลิตภัณฑ์ e-money ด้วยวิธี direct และ วิธี pass-through โดยมีลักษณะสำคัญสรุปได้ดังนี้

  การคุ้มครอง e-money วิธี Direct การคุ้มครอง e-money วิธี Pass-Through
หลักการ นิยามให้ e-money เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของระบบการคุ้มครอง คุ้มครองเงินรับล่วงหน้าที่นำมาฝากใน custodian account หรือ trust account ที่เปิดกับสถาบันการเงินที่หน่วยงานคุ้มครองเงินฝากให้ความคุ้มครอง
เงื่อนไขการให้การคุ้มครอง
  • Non-bank ที่ให้บริการ e-money ต้องเป็นสมาชิกของหน่วยงานคุ้มครองเงินฝาก
  • หน่วยงานคุ้มครองเงินฝากบางแห่งอาจให้ความคุ้มครองเฉพาะผลิตภัณฑ์ e-money ที่จำหน่ายโดยสถาบันการเงิน
  • กำหนดกฎหมาย หลักเกณฑ์ข้อบังคับ ให้มีการเปิดเผยข้อมูลลูกค้า e-money
  • ผู้เปิดบัญชี custodian accountหรือ trust account ต้องระบุให้ลูกค้า e-money เป็นผู้รับผลประโยชน์รวมถึงมีการแต่งตั้ง custodian หรือ trustee
  • Non-bank ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ e-money ไม่ต้องเป็นสมาชกิกับหน่วยงานคุ้มครองเงินฝาก
  • กำหนดกฎหมาย หลักเกณฑ์ข้อบังคับ ให้มีการเปิดเผยข้อมูลลูกค้า e-money

กระนั้น ในบางประเทศก็มีการกำหนดกฎหมายชัดเจนว่า e-money ไม่ถือเป็นเงินฝากภายใต้ระบบคุ้มครองเงินฝาก เช่น สหภาพยุโรป กำหนดในกฎหมายสหภาพยุโรปให้ e-money ไม่ถือเป็นเงินฝากจึงไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ระบบคุ้มครองเงินฝาก อย่างไรก็ดี ผู้ให้บริการ e-money สามารถจัดทำแผนการประกันคุ้มครองเงินรับล่วงหน้า จากธุรกรรม e-money กับบริษัทประกันในภาคเอกชนได้ โดยวิธีดังกล่าวเรียกว่า Exclusion Approach

การมีแนวทางดำเนนิการกับผลิตภัณฑ์ e-money ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมนอกจากจะคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการ กรณีเกิดวิกฤตทางการเงิน ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนต่อระบบการเงินอีกด้วย

สำหรับแนวทางการคุ้มครอง e-money ในประเทศไทย มีการดำเนินการเป็นอย่างไรนั้นติดตามได้ในตอนต่อไป

 


โดย: ฝ่ายวางแผนและวิจัย

ปรับปรุงล่าสุด 28 ก.พ. 2567

สงวนสิทธิ์โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

บทความอื่นๆ

ดูเพิ่มเติม