การคุ้มครอง e-money ในประเทศไทย

ปัจจุบันผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money) ในประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 26 ราย โดยแบ่งออกเป็น ผู้ให้บริการที่เป็นสถาบันการเงิน (Bank) 6 ราย และผู้ให้บริการที่เป็น non-bank 20 ราย โดยในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของจำนวนบัญชีและมูลค่าการใช้e-money เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 28.04 และ 38.18 ตามลําดับ และยังมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอนาคต ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการเข้าสู่ สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) จึงเป็นปัจจยัที่ีช่วยให้อุตสาหกรรม e-money มีโอกาสที่จะเติบโตและดึงดูดให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาลงทุน

เมื่อย้อนมาพิจารณากฎหมาย และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกํากับดูแล e-money ในประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานผู้กํากับดูแลได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองระดับแรก (First Line of Defense) โดยหลักการแบ่งแยกทรัพย์สินมีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันให้ผู้บริโภค (Safeguarding) ว่าผู้ประกอบการจะไม่นําเอาเงินของผู้บริโภคไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และในกรณีผู้ประกอบการเกิดล้มละลาย เงินของลูกค้าในส่วนนี้ก็จะไม่ถูกนําไปรวมกับทรัพย์สินของผู้ประกอบการในกระบวนการล้มละลาย ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการพื้นฐานของระบบการให้บริการ e-money โดยเกณฑ์ดังกล่าวสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจเป็น bank กําหนดหลักเกณฑ์บังคับให้เงินรับล่วงหน้าสําหรับ ผู้ประกอบธุรกิจการให้บริการ e-money ต้องเก็บรักษาแยกไว้ต่างหากจากเงินทุนหมุนเวียนอื่น
  • ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็น non-bank ให้ฝากเงินรับล่วงหน้าไว้ที่ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งไม่น้อยกว่ายอดคงค้างของเงินรับล่วงหน้า

หลักการเก็บรักษาเงินรับล่วงหน้าที่ได้รับจากผู้ใช้บริการแยกไว้ต่างหากจากเงินทุนหมุนเวียนอื่นของผู้ประกอบการ non-ban

Z

ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ล้มละลาย หลักกฎหมาย First Line of Defense จึงได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ใช้บริการแล้ว แต่ในกรณีที่สถาบันการเงินที่รับฝากเงินจากผู้ประกอบการถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ประกอบการจะได้รับเงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากในจํานวนไม่เกินวงเงินคุ้มครองเงินฝาก เนื่องจากนิยามเงินฝากยังไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ e-money

ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการ non-bank ต้องเข้าสู่กระบวนการชําระบัญชีสถาบันการเงิน จึงจะได้รับเงินรับล่วงหน้าของลูกค้า e-money ที่ฝากไว้สำหรับส่วนที่เกินวงเงินคุ้มครองเงินฝาก อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบคุ้มครองเงินฝาก สถาบันคุ้มครองเงินฝากจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในการขยายความคุ้มครอง และเตรียมพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการดําเนินมาตรการตามหลักการดังกล่าวอันจะส่งผลให้เกิดเสถียรภาพต่อระบบสถาบันการเงินไทยโดยรวมตลอดจนขยายความคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักขององค์กรต่อไป

 


โดย: ฝ่ายวางแผนและวิจัย

ปรับปรุงล่าสุด 28 ก.พ. 2567

สงวนสิทธิ์โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

บทความอื่นๆ

ดูเพิ่มเติม