ถ้าพูดถึงสถาบันการเงินที่มีนัยสำคัญต่อระบบการเงินโลก (Global Systemically Important Banks หรือ G-SIBs) หลายท่านคงจะสงสัยว่าจริง ๆ แล้วสถาบันการเงินประเภทนี้คืออะไร และหน้าตาเป็นอย่างไร
ก่อนอื่น ขอให้ท่านนึกถึงร่างกายของเราซึ่งประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ ส่วน อย่างไรก็ดี ในร่างกายเรามีอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ตับ ซึ่งหากเริ่มเสื่อมโทรมหรือมีปัญหา ก็จะต้องพบกับโรคต่าง ๆ มากมายที่รักษาไม่หาย หรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะส่วนอื่น หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สถาบันการเงินก็เช่นกัน หากสถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินหรือระบบเศรษฐกิจมีปัญหาหรือล้มลง ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงกับตัวสถาบันการเงินดังกล่าวเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในวงกว้างถึงสถาบันการเงินอื่น ๆ และอาจลุกลามไปจนถึงระบบการเงินหรือระบบเศรษฐกิจโดยรวมเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากกรณีที่ Lehman Brothers สถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาประกาศล้มละลาย ส่งผลให้ตลาด Dow Jones ผันผวนอย่างมาก พร้อมกับต้นทุนการกู้ยืมที่ขยับขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ก่อให้เกิดวิกฤตซับไพร์มอันเลื่องชื่อ
ด้วยเหตุนี้ เพื่อลดโอกาสการล้มละลายของสถาบันการเงินที่มีนัยสำคัญต่อระบบ การดูแลสถาบันการเงินที่เข้าข่ายเป็น G-SIBs จึงเป็นสิ่งสำคัญและต้องติดตามดูแลอย่างเข้มงวด ซึ่ง Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) ได้กำหนดมาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เป็น G-SIBs ซึ่งการกำกับดูแลจะมีความแตกต่างไปจากสถาบันการเงินอื่น ๆ ทั่วไป อาทิเช่น
ทั้งนี้ สถาบันการเงินใดเข้าข่ายเป็น G-SIBs หรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากเกณฑ์ที่ BCBS กำหนดไว้เบื้องต้น ดังนี้
สำหรับบทความฉบับต่อไป ผู้เขียนจะเปิดเผยรายชื่อของสถาบันการเงินที่จัดอยู่ในกลุ่ม G-SIBs
โดย: ฝ่ายวิเคราะห์สถาบันการเงิน
ปรับปรุงล่าสุด 28 ก.พ. 2567
สงวนสิทธิ์โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
Infographics
วิดีโอ
ข่าวประชาสัมพันธ์