จากบทความฉบับที่แล้วที่พูดถึงสถาบันการเงินที่มีนัยสำคัญต่อระบบการเงินโลก (Global Systemically Important Banks หรือ G-SIBs) ว่ามีลักษณะอย่างไร และจะมีการกำกับดูแลที่เข้มข้นขึ้นจากสถาบันการเงินอื่น ๆ ทั่วไปอย่างไร ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอนำเสนอรายชื่อสถาบันการเงินที่จัดอยู่ในกลุ่ม G-SIBs
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ (Financial Stability Board: FSB) ได้ประกาศรายชื่อสถาบันการเงินที่จัดอยู่ในกลุ่ม G-SIBs จำนวน 30 แห่ง ทั่วโลก ประกอบด้วย สถาบันการเงินในทวีปอเมริกา จำนวน 10 แห่ง ในยุโรป จำนวน 13 แห่ง และในเอเชีย จำนวน 7 แห่ง
สถาบันการเงิน G-SIBs เหล่านี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม (ซึ่งเรียกว่า Bucket) ตามลำดับความสำคัญของสถาบันการเงินซึ่งวัดจากเกณฑ์ที่ทางคณะกรรมการด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ภาคการธนาคาร (Basel Committee on Banking Supervision: BCBS) กำหนด (ผู้อ่านสามารถอ้างอิงเกณฑ์ดังกล่าวได้ในบทความที่แล้ว) โดยสถาบันการเงินในแต่ละกลุ่ม จะต้องดำรงเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1: CET1) เพิ่มเติมในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งหากมีความสำคัญมากก็จะต้องดำรง CET1 เพิ่มเติมมากขึ้นกว่าสถาบันการเงินทั่วไป เพื่อให้มีทุนสำรองรองรับความเสียหายได้มากกว่า สรุปดังนี้
Bucket |
รายชื่อสถาบันการเงิน |
5 (CET1 + 3.5%) |
ไม่มี |
4 (CET1 + 2.5%) |
ไม่มี |
3 (CET1 + 2.0%) |
Citigroup HSBC JP Morgan Chase |
2 (CET1 + 1.5%) |
Bank of America Bank of China Barclays BNP Paribas China Construction Bank Deutsche Bank Industrial and Commercial Bank of China Mitsubishi UFJ FG |
1 (CET1 + 1.0%) |
Agricultural Bank of China Bank of New York Mellon Credit Suisse Goldman Sachs Groupe BPCE Groupe Crédit Agricole ING Bank Mizuho FG Morgan Stanley Royal Bank of Canada Santander Société Générale Standard Chartered State Street Sumitomo Mitsui FG Toronto Dominion UBS UniCredit Wells Fargo |
ทั้งนี้ รายชื่อสถาบันการเงินที่เป็น G-SIBs ดังกล่าว จะมีการทบทวนทุกปี ซึ่งหากท่านใดสนใจ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ของ FSB (https://www.fsb.org/)
โดย: ฝ่ายวิเคราะห์สถาบันการเงิน
ปรับปรุงล่าสุด 28 ก.พ. 2567
สงวนสิทธิ์โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
Infographics
วิดีโอ
ข่าวประชาสัมพันธ์