สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 32 แห่ง ได้แก่

  1. ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศทุกแห่ง (17 แห่ง)
  2. สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
  3. บริษัทเงินทุน (1 แห่ง)
  4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)

คลิกเพื่อตรวจสอบรายชื่อสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก

ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากตามเอกสารการเปิดบัญชี ซึ่งในกรณีที่ผู้ฝากมีบัญชีเงินฝากหลายบัญชีที่เปิดอยู่กับสถาบันการเงิน 1 แห่ง จะต้องนำเงินฝาก (เงินต้นและดอกเบี้ย) ในทุกสาขาและทุกบัญชีของสถาบันการเงินแห่งนั้นมารวมคำนวณ หากอยู่ในวงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท ผู้ฝากจะได้รับเงินคุ้มครองเต็มจำนวน

ปัจจุบันมี 5 ประเภทผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง และต้องเป็นบัญชีเงินบาทที่เปิดในประเทศไทยและเปิดกับสถาบันการเงินภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ได้แก่

  1. เงินฝากกระแสรายวัน
  2. เงินฝากออมทรัพย์ / สะสมทรัพย์ / เผื่อเรียก
  3. เงินฝากประจำ
  4. บัตรเงินฝาก
  5. ใบรับเงินฝาก

ประเภทผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง อาทิ

  1. เงินฝากประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
  2. เงินฝากใน "บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ"
  3. เงินฝากที่มีอนุพันธ์แฝง
  4. เงินฝากระหว่างสถาบันการเงิน
  5. เงินฝากในสหกรณ์
  6. เงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
  7. กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือกระเป๋าเงินออนไลน์ (e-wallet /e-money)

นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เงินฝากและไม่ได้รับความคุ้มครอง อาทิ

  1. เช็ค แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน
  2. หุ้นกู้ของสถาบันการเงิน
  3. ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ ที่ออกโดยบริษัทประกัน
  4. เงินลงทุนในตราสารต่าง ๆ ผ่านกองทุน เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Saving Fund : SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement
  5. Mutual Fund : RMF) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF)
  6. สลาก เช่น สลากออมสิน, สลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. เป็นต้น
  7. พันธบัตรรัฐบาล
  8. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N)
  9. ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange : B/E)
  10. สกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency) เช่น คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)

สถาบันการเงินที่ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ประกอบไปด้วย

  1. สถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือธนาคารของรัฐ ได้แก่
    • ธนาคารออมสิน
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
    • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
    • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM Bank
    • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME Bank
    • บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
  2. สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และชุมนุมสหกรณ์
  3. สถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้นิยาม "สถาบันการเงิน" อาทิ ผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือ Non-Bank

ผู้ฝากเงินที่เป็นบุคคลธรรมดาทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และนิติบุคคล เช่น บริษัท กองทุนต่าง ๆ มูลนิธิ วัด สมาคม สหกรณ์ บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต ที่เปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก และต้องเป็นบัญชีเงินบาทเท่านั้น

สำหรับบัญชีเงินฝากในรูปแบบ e-saving คือบัญชีที่ไม่มีสมุดคู่ฝาก ได้รับความคุ้มครองเช่นกัน

ผู้ฝากที่ฝากเงินกับธนาคารไร้สาขา ในประเภทบัญชีที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก เงินฝากนั้นได้รับความคุ้มครองเช่นกัน

E-Wallet เป็นลักษณะบัญชีหรือกระเป๋าเงินออนไลน์ ที่ผู้ใช้บริการจะต้องขอเปิดบริการกับผู้ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตก่อนการทำการจัดเก็บเงินลงในบัญชี e-wallet นี้เพื่อนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ โดยบัญชี e-wallet เป็นประเภทผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
กระบวนการหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งปิดกิจการสถาบันการเงิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งหมายความว่าสถาบันการเงินนั้นไม่สามารถดำเนินกิจการได้อีกต่อไป

จำนวนวงเงินตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อใช้สำหรับคุ้มครองผู้ฝากหากเกิดเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจจนถึงขั้นสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต ปัจจุบันวงเงินคุ้มครองอยู่ที่ 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน

เงินฝากใน "บัญชีร่วม" จะได้รับเงินคุ้มครองตามสัดส่วนของแต่ละคน ที่เป็นเจ้าของบัญชีร่วมตามหลักฐานที่บันทึกไว้กับสถาบันการเงิน หากไม่มีการบันทึกไว้ถือว่าแต่ละคนมีสัดส่วนเท่าๆ กัน และนำไปรวมกับบัญชีเดี่ยวของแต่ละคน โดยจะได้รับความคุ้มครองภายในวงเงินคุ้มครองที่กฎหมายกำหนด 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝากต่อ 1 สถาบันการเงิน

กรณีสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะจ่ายเงินคุ้มครองให้กับผู้ขอเปิดบัญชีตามหลักฐานการเปิดบัญชี

  • กรณีบัญชีเพื่อ เช่น นายรุ่งเรืองขอเปิด "บัญชีเพื่อ ด.ช. โชติช่วง โดย นายรุ่งเรือง" เป็นผู้ลงนามในคำขอเปิดบัญชี กรณีนี้ สคฝ. จะจ่ายเงินคุ้มครองแก่นายรุ่งเรือง
  • กรณีบัญชีโดย เช่น นางพิมพ์ใจ ขอเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อบัญชีว่า "ด.ญ.เปี่ยมสุข โดยนางพิมพ์ใจ" และนางพิมพ์ใจเป็นผู้ลงนามในคำขอเปิดบัญชี สคฝ. จะจ่ายคืนคุ้มครองแก่นางพิมพ์ใจ
สถาบันคุ้มครองเงินฝากเป็นหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่หลักในการรวบรวมเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝาก และทำหน้าที่จ่ายเงินคุ้มครองให้กับผู้ฝากภายในวงเงินและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมถึงทำหน้าที่ชำระบัญชีสถาบันการเงิน ในกรณีที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต
บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน โดยรับฝากเงินหรือ รับเงินจากประชาชนที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้และสามารถให้กู้ยืมเงินตามประเภทของธุรกิจเงินทุนที่ได้รับอนุญาต เช่น การให้กู้ยืมเงินระยะปานกลางและระยะยาวแก่กิจการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือพาณิชยกรรม การให้เช่าซื้อบางประเภท แต่ไม่สามารถประกอบธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศได้
บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์โดยสามารถ รับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนที่จะจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและต้องฝากเงินไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท โดยสามารถให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยวิธี ขายฝาก

ระบบการคุ้มครองเงินฝากที่ประเทศต่าง ๆ นำมาใช้มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างเสถียรภาพทางการเงิน และความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน รวมทั้งให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากเงินรายย่อย โดยวงเงินที่ได้รับความคุ้มครองจะแตกต่างตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ แต่จะอยู่ในระดับที่สามารถครอบคลุมผู้ฝากเงินจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนผู้ฝากเงินทั้งระบบ

การจ่ายเงินคุ้มครองให้แก่ผู้ฝากนั้นไม่ได้เป็นการนำเงินมาจากเงินภาษีของประชาชน แต่นำมาจากเงิน "กองทุนคุ้มครองเงินฝาก" ซึ่งเป็นเงินที่รวบรวมจากเงินนำส่งของสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง

กองทุนคุ้มครองเงินฝากถูกจัดขึ้นตาม พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 มาตรา 47 เป็นเงินที่รวบรวมจากเงินนำส่งของสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารเงินกองทุนนี้ สามารถนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง มีสภาพคล่องสูงและมีผลตอบแทนที่เหมาะสมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เงินในกองทุนมีการเติบโต และเพิ่มพูนขึ้นจากดอกผลที่ได้รับจากการบริหารจัดการเงินกองทุนดังกล่าว